วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553




จดเครื่องหมายการค้าทําอย่างไร

1. เครื่องหมายการค้าคืออะไร
ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
2. เครื่องหมายการค้ามีกี่ประเภท
เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
เครื่องหมายรับรอง หมายความว่าเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรอง แหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ/วิธีการผลิตคุณภาพ หรือคุณลักษณะของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน
3. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
  1. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
  2. เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้งอห้ามตามกฎหมาย
  3. ไม่เป็นเครื่งอหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4. ลักษณะบ่งเฉพาะคืออะไร
  1. ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อนั้นทราบ และเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าอื่น
  2. ต้องไม่เป็นภาพ/คำ ข้อความหรือสิ่งที่ใช้กันทั่วไปทางการค้าขาย เช่น คำว่า น้ำปลา ใช้กับสินค้าน้ำปลา ถือว่า ไม่มีลักษณะบ่องเฉพาะ
5. อายุการคุ้มครอง
  1. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุการคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
  2. ต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยให้ยื่นคำขอต่ออายุภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ
6. การให้บริการตรวจค้นเครื่องหมายการค้า
  1. นำรูปเครื่องหมายที่จะจดทะเบียนไปขอตรวจค้นด้วยตนเองได้ที่กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
  2. กรอกแบบฟอร์ม (ก.09) ขอตรวจสอบเครื่องหมาย พร้อมชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจค้น ชั่วโมงละ 100 บาทและขอให้ระบุว่า เครื่องหมายจะใช้กับสินค้า/บริการ
7. การเตรียมคำขอจดทะเบียน (แบบ ก.01)
  1. คำขอจดทะเบียน (ก.01) พิมพ์ข้อความพร้อมลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทน และปิดรูปเครื่องหมายขนาดกว้าง ยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร ลงบนต้นฉบับและถ่ายสำเนาแบบ (ก.01) อีก 5 ชุด
  2. แนบรูปเครื่งอหมายการค้า/บริการ อีก 2 รูปใส่ซอง (รวมใช้รูป 6 รูป)
  3. แบบคำขอแสดงปฏิเสธ (ก.12) ใช้กรณีเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป
  4. คำร้องจดทะเบียนชุด (ก.13) ใช้กรณีผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอที่มีเครื่งอหมายที่มีลักษณะเดียวกันหลายคำขอ
  5. หนังสือมอบอำนาจ (ก.18) ใช้กรณีมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการพร้อมปิดอากร 30 บาท ผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (ถ้ามี)
เอกสารประกอบการจดทะเบียน
  1. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของเครื่องหมายการค้า (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับจริงที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน(กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตัวแทน (ถ้ามี)
หมายเหตุ: ส่วนเกินขนาดรูปเครื่องหมายการค้า 5x5 ซม. จะต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนเกิน เซนติเมตรละ 100 บาท
8. ต่ออายุ
  1. คำขอต่ออายุ (ก.07) พิมพ์ข้อความระบุรายการสินค้าที่ต้องการต่ออายุและลงลายมือชื่อ
  2. คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง (ก.06) ใช้กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ เช่น สถานที่ส่งบัตรหมายรายการสินค้า เป็นต้น
เอกสารประกอบคำขอต่ออายุ
  1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  2. หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับจริงที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีนิติบุคคล)
  3. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของเครื่องหมายการค้า (กรณ๊บุคคลธรรมดา)
  4. หนังสือมอบอำนาจ (ก.18) เปลี่ยนแปลงตัวแทน (ถ้ามี)
  5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตัวแทน (ถ้ามี)
9. ค่าธรรมเนียม
  • การยื่นคำขอจดทะเบียน รายการสินค้า/บริการ  อย่างละ  500  บาท
  • การรับจดทะเบียน รายการสินค้า/บริการ  อย่างละ  300  บาท
  • การยื่นคำขอต่ออายุ รายการสินค้า/บริการ  อย่างละ  1,000  บาท
10. สถานที่ยื่นคำขอ
  • กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอ สำนักเครื่องหมายการค้า ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร.025474638-9 หรือ 025474621-25 โทรสายด่วน 1368
  •  ทั่วประเทศ
  • อินเตอร์เน็ต www.ipthailand.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น